สารสกัดโพรโพลิส(Propolis) กับ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

จากข้อมูลใน Propolis: A Gift from Nature พบว่าสารสกัดโพรโพลิส (Propolis extract) มีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น กรดคาเฟอิกฟีนิลเอสเทอร์ (Caffeic acid phenethyl ester (CAPE)), กาแลนจิน (Galangin) เป็นต้น โดยฤทธิ์ที่ช่วยในการบรรเทาอาการเจ็บคอที่เกิดจากการติดเชื้อหรืออักเสบในลำคอ จะเป็นฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลชีพ (Antimicrobial activity) เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รวมทั้งฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory activity)(1)

งานศึกษาใน Mechanisms of action underlying the anti-inflammatory and immunomodulatory effects of propolis: a brief review พบว่ากลไกการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดโพรโพลิส จะลดการสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบลดลง ส่งผลให้อาการปวดอักเสบ บวม แดง ลดลงได้(2) ดังนั้นสารสกัดโพรโพลิสจึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอที่มีสาเหตุจากการอักเสบในลำคอได้

 

มีงานวิจัย Preliminary investigation on the anti-inflammatory and anti-microbial activities of propolis ที่ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดโพรโพลิส โดยใช้แบบจำลองการทำให้หูหนูขาวเล็ก (mice) เกิดการอักเสบ โดยทำให้หูบวมน้ำจากการเหนี่ยวนำด้วย croton oil ซึ่งเป็นน้ำมันที่สกัดจาก Croton tigium พบว่าสารสกัดโพรโพลิสสามารถออกฤทธิ์ลดการอักเสบได้เทียบเท่ากับยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) ซึ่งเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวด ลดอาการอักเสบได้(3)

ข้อมูลข้างต้นจึงกล่าวได้ว่า สารสกัดโพรโพลิสมีฤทธิ์ลดการอักเสบได้อย่างดี จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือการอักเสบในลำคอ รวมทั้งสารสกัดโพรโพลิสมีความปลอดภัย เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติและมีการใช้มาอย่างยาวนาน

แหล่งที่มา

  1. Athikomkulchai S. Propolis: A Gift from Nature. Thai Pharm Health Sci J. 2008; 3(2): 286-95.
  2. Araujo MA, Libério SA, Guerra RN, Ribeiro MN, Nascimento FR. Mechanisms of action underlying the anti-inflammatory and immunomodulatory effects of propolis: a brief review. Rev. bras. Farmacogn. 2012; 22(1): 208-19.
  3. Sosa S, Baricevis D, Cinco M, et al. Preliminary investigation on the anti-inflammatory and anti-microbial activities of propolis. Pharmaceut Pharmacol Lett. 1997;7:168-171.
0
    0
    ตะกร้าของคุณ